มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มองเป็นอันดับแรกคือระบบการปฏิบัติงาน มองถึงคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์) คือเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่สำคัญมากเช่นกัน
โดยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพ มาตรฐานแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะใช้เกณฑ์เดียวกับ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ โดยสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ทั้งนี้ได้มีการปรับเกณฑ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทีมที่ปรึกษาโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ ปีงบประมาณ 2558 ซึ่งคุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด เป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษา และผู้ตรวจประเมินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์มาตั้งแต่ปี 2553 และได้บรรยายในหลักสูตร เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ให้กับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ วันที่ 8 มิถุนายน 2558
หลักเกณฑ์สำคัญของ มาตรฐานแฟรนไชส์ อยู่ในหัวข้อหลัก 7 ข้อได้แก่
- การนำองค์กร (120 คะแนน)
- การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (100 คะแนน)
- การมุ่งเน้นลูกค้า (120 คะแนน)
- การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (80 คะแนน)
- การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (100 คะแนน)
- การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (130 คะแนน)
- ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (350 คะแนน)
คะแนนรวม 1,000 คะแนน คะแนนมาตรฐานคือ 650 คะแนน
เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์โดยมีผู้นำแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษาฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การจำแนกกลุ่มลูกค้าและตลาด จะช่วยให้การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจตอบสนองได้ตรงประเด็น ตรงใจลูกค้า และความหมายของลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่หมายรวมถึง แฟรนไชส์ซี หรือ ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ไปดำเนินธุรกิจตามที่หวังผลสำเร็จเหมือนกับแฟรนไชส์ซี ดังนั้นการฟังเสียงลูกค้า (Voice of Customer) และการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus) ในเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
นอกจากนี้การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (Workforce Focus) อีกหนึ่งเกณฑ์ใน มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและบุคคลในกิจการ ได้แก่การสร้างความผูกพันโดยการเพิ่มคุณค่าของบุคลากร มีการวางแผนอาชีพ (Career Path) การกำหนดลักษณะงาน (Job Description) การพัฒนาบุคลากร เช่นการฝึกอบรม การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน และต้องประเมินความผูกพันของบุคคลทุกๆ ปีด้วย ซึ่งไม่ใช่บุคคลในกิจการเท่านั้น แฟรนไชส์ซี เปรียบเสมือนหุ้นส่วนธุรกิจที่ต้องการพัฒนาเป็นประจำ ทั้งด้านพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำ และการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และทุกครั้งในการพัฒนาจะต้องประเมินผลด้วยว่ามีผลตอบรับเป็นอย่างไร นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสร้างความผูกพันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สภาพแวดล้อมในการทำงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
ธุรกิจแฟรนไชส์จะดำรงอยู่ได้เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี หากแฟรนไชส์ซอร์จะหวังรวยอยู่ข้างเดียวปล่อยให้แฟรนไชส์ซีซื้อสิทธิไปแล้วทิ้งขว้าง อนาคตของแฟรนไชส์ซอร์นั้นก็ไปได้ไม่นานหรอก เมื่อจะยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานต้องยกระดับความสัมพันธ์จนกระทั่งให้เกิดความผูกพันกันได้
แฟรนไชส์ซอร์จะประสบความสำเร็จได้เมื่อแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จแล้ว นี่คือเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ยอมรับกันทั่วโลก
ติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจได้ที่ contact@gnosisadvisory.com
หรือกดติดตามที่ https://www.facebook.com/gnosisadvisory/
อัพเดทความรู้มาตรฐานแฟรนไชส์ปี 2568 ได้ที่บทความนี้ แฟรนไชส์: เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ เหตุผลและอุปสรรคที่ต้องรู้