ยกระดับ แฟรนไชส์ ด้วย มาตรฐาน
นับตั้งแต่ปี 2551 ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำ “เกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติ” เพื่อสร้างองค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความเข้มแข็ง และสามารถแข็งขันกับธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศได้
เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์จะอิงหลักการแนวทางระบบสากลนิยมของ Thailand Quality Award (TQA) ซึ่งจัดทำขึ้นตามแนวทางมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldrige National Quality Award – MBNQA) ที่เป็นที่ยอมรับและมีการนำไปใช้กว่า70 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นระบบเกณฑ์ที่เน้นการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรธุรกิจของตนให้มีคุณภาพและความเป็นเลิศ
กระบวนการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์กับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการ มี 3 ขั้นตอนดังนี้
คุณเศรษฐพงศ์ บริษัทจีโนซิสจำกัด กำลังอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนมาตรฐานแฟรนไชส์ และยกตัวอย่างการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็น
- การประเมินตนเอง (Self Assessment Franchise Test) คะแนนเต็มเท่ากับ 450 คะแนน จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 320 คะแนน โดยมีคำถามในหัวข้อดังนี้ ข้อมูลแฟนไชส์ ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ การสร้างภาพพจน์องค์กร อัตราการทำกำไรของธุรกิจ ชื่อเสียงและแบรนด์ ภาวะการณ์แข่งขันธุรกิจ การจัดกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะเฉพาะของธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรและการให้บริการ งบประมาณของธุรกิจ และรูปแบบการจัดร้านค้า
- การประเมินโดยนักวินิจฉัย (Total Quality Franchise Management) คะแนนเต็มเท่ากับ 1,000 คะแนน จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 668 คะแนน ซึ่งนักวินิจฉัยจะเข้าไปตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ และสัมภาษณ์ทีมบริหารแฟรนไชส์นั้น ใน 7 หัวข้อหลักดังนี้ 1) การนำองค์กร 2) การพัฒนากลยุทธ์ 3)การมุ่งเน้นที่ลูกค้าและตลาด 4)การวัด วิเคราะห์ การจัดการความรู้ 5)การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6)การจัดการกระบวนความรู้ และ 7)ผลลัพธ์ทางธุรกิจ
- เมื่อธุรกิจได้ผ่านการประเมินจากคะแนน SAFT และ TQFM จะมีคณะกรรมการตรวจสอบและพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกใบประกาศรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชยื
คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท จีโนซิส จำกัด คือหนึ่งในทีมวินิจฉัยตรวจคุณภาพแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา และเป็นวิทยากรด้านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในโครงการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ (B2B) ตั้งแต่รุ่นที่ 15 จนกระทั่งล่าสุดรุ่นที่ 16 (เริ่มอบรมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 จนถึงเดือนเมษายน 2557) การสัมนาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้เข้าใจและเตรียมความพร้อมความมีมาตรฐานตั้งแต่เริ่มต้น
นอกจากอธิบายเกณฑ์การประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการสร้างธุรกิจเข้าระบบแฟรนไชส์ B2B รุ่นที่ 16 แล้ว คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ได้ยกตัวอย่างเอกสารสำคัญที่ธุรกิจจำเป็นต้องจัดทำเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เช่นแผนธุรกิจ แผนกลยุทธ์แฟรนไชส์ เอกสารประกอบการตรวจสาขา แผนงานพัฒนาบุคลากร ดัชนีชี้วัดความสำเร็จต่างๆ เป็นต้น
วิทยากรถ่ายรูปร่วมกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์รุ่นที่ 16 (B2B) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557
เกณฑ์ในการวัด มาตรฐาน แฟรนไชส์ จะดูว่าแฟรนไชส์ซอร์มีการ วางแผน (Plan) ได้ปฏิบัติจริง (Do) ตรวจติดตามผลงาน (Check) และ แก้ไขปรับปรุง (Act) แล้ววนกลับไปที่แผนอีกว่าต้องแก้ไขอะไรอีก ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ ข้อมูลจากแฟรนไชส์ซีจะมีส่วนสำคัญที่ต้องนำมาใช้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน
การวัดผลการดำเนินงานจากตัวชี้วัด จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน เปรียบเทียบเกณฑ์ของอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือต้องนำไปใช้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่แผนงานเท่านั้น
อยากสร้างระบบแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐาน ดูข้อมูลงานให้บริการของจีโนซิส ได้ที่ https://www.gnosisadvisory.com/services/
หรือติดตามอัพเดทความรู้ด้านแฟรนไชส์ได้ที่ Facebook.com/Gnosisadvisory
อัพเดทความรู้มาตรฐานแฟรนไชส์ปี 2568 ได้ที่บทความนี้ แฟรนไชส์: เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ เหตุผลและอุปสรรคที่ต้องรู้