ระบบแฟรนไชส์ มาตรฐาน B2B รุ่นที่ 26

ระบบแฟรนไชส์ ต้องสร้างก่อนขายแฟรนไชส์

ทุก ๆ ปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กำหนดจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส (B2B Franchise) เป็นประจำ สร้างผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้าสู่ ระบบแฟรนไชส์ แล้วกว่า 1,100 กิจการแล้ว โดยในปีนี้เริ่มเรียนตั้งแต่ ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 เข้าถึงรุ่นที่ 26 ประจำปี 2566 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมครั้งนี้ 58 กิจการ แบ่งเป็นธุรกิจค้าปลีก 9 กิจการ ธุรกิจเครื่องดื่ม 9 กิจการ ธุรกิจบริการ 6 กิจการ และธุรกิจอาหาร 34 กิจการ วัตถุประสงค์ของ B2B Franchise คือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างถูกต้อง สามารถนำแนวทางระบบแฟรนไชส์ไปใช้ในการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพองค์กรให้สามารถขยายโอกาสทางการตลาดธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้อย่างกว้างขวาง สร้างความเข้มแข็งสู่สากล คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การสร้างระบบงานที่เป็นมาตรฐาน” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 9.00 – 16.00 ณ ห้องประชุมมโนปกรณ์นิติธาดา ชั้น 12 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหัวข้อนี้ได้สอนเป็นครั้งที่ 3 เพื่อวางรากฐานให้กับผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจจะนำธุรกิจขยายแฟรนไชส์ต่อไป เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กล่าวว่า “ความเป็นมาตรฐานคือความสม่ำเสมอของความต่อเนื่องของการทำงาน” จะทำธุรกิจให้เป็นระบบงานที่เป็นมาตรฐานนั้นใช้หลักการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ได้แก่เริ่มต้นด้วยการวางแผน (Plan) วางเป้าหมาย กำหนดการทำงานต่าง ๆ กำหนดเวลาระยะ ๆ  ตามด้วยการลงมือทำตามแผนงาน (DO) ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์อย่างจริงจัง แล้วตรวจสอบ (Check) ผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ มีเช็คลิสในการติดตามผลงาน และถ้าไม่ตรงไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ให้ทำการแก้ไขปรับปรุง (Act) ทันที หรือปรับเปลี่ยนแผนงาน (Plan) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น PDCA จะวนต่อไปข้างนาเรื่อย ๆ ทำให้ธุรกิจพัฒนาเติบโตอย่างเป็นระบบแบบแผน PDCA เป็นพื้นฐานในการทำระบบงานให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งแฟรนไชส์ต้องมีมาตรฐานในการทำงานส่งมอบจากแฟรนไชส์ซีไปสู่ลูกค้าเป้าหมายเหมือนกับการบริการจากแฟรนไชส์ซอร์ โดยพิจารณาเป็นแนวทางดังนี้
  1. เริ่มต้นตั้งแต่ผู้นำแฟรนไชส์กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ทิศทางของธุรกิจ กำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับประโยชน์ด้วยกัน (ได้แก่ลูกค้า แฟรนไชส์ซี ซัพพลายเออร์ ผู้ถือหุ้น ชุมชน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น)
  2. กำหนดแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์ปัจจัยภายใน (จุดแข็งจุดอ่อน) ปัจจัยภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) กำหนดคุณค่านำเสนอ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หาคำตอบว่า “ทำไมต้องซื้อแฟรนไชส์ของเรา” จัดทำตารางเปรียบเท่ียบธุรกิจของคุณกับคู่แข่งขัน
  3. กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหรือแฟรนไชสซี ฟังเสียงความต้องการของลูกค้าและแฟรนไชส์ซี เก็บข้อมูลความพึงพอใจ และความไม่พอใจของลูกค้ามาประยุกต์ปรับปรุง หาแนวทางที่แฟรนไชส์ซีสามารถส่งมอบคุณค่าตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอและมีรูปแบบเดียวกัน และสามารถจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า หรือแฟรนไชส์ซี หาคำตอบว่า “คุณสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และแฟรนไชส์ซีอย่างไร”
  4. แฟรนไชส์เลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้อย่างไร ข้อมูลได้แก่ ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลปฏิบัติงาน นำมาพัฒนาหรือปรับปรุงระบบงานแฟรนไชส์ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์
  5. ธุรกิจสร้างความผูกพัน จัดการ และพัฒนาบุคลากรอย่างไร เพื่อใช้ศักยภาพของบุคลากรอย่างเต็มที่ให้สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับพันธกิจขององค์กร กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโดยรวม ดังนั้นต้องพิจารณาว่า “โครงสร้างองค์กรแฟรนไชส์ประกอบด้วยตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบอะไร” เพื่อให้การทำงานดำเนินงานอย่างราบรื่น ดูแลไปถึงแฟรนไชส์ซี
  6. ธุรกิจจะมั่นใจอย่างไรว่า การปฏิบัติงานมอบคุณค่าแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล แน่นอนว่าแฟรนไชส์จะต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมถ่ายทอดไปให้แฟรนไชส์ซีเป็นประจำ แล้วติดตามประเมินผลการดำเนินงานว่าทำได้ตามมาตรฐานงานหรือไม่ จะทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จเกิดจากความมีวินัย ทำตามระบบงาน และความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ยอมรับงานซึ่งกันและกัน พึ่งพากัน
  7. จะตรวจสอบว่าทำงานได้ดีอย่างไรนั้น ต้องมีรายงานแสดงผลลัพธ์เปรียบเทียบกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ เพื่อการปรับปรุงและแก้ไขให้งานเข้ารูปเข้ารอย
    คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทฺธิ์ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์รับอนุญาต (Certified Franchise Executive) และเป็นวิทยากรในโครงการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่รุ่นที่ 13 จนถึงรุ่นปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรระบบแฟรนไชส์มาตรฐานในปี 2563 ตามลิงค์นี้  ถ้าสนใจหลักสูตรนี้เพื่อจัดสำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรธุรกิจของท่าน กรุณาติดต่อที่ LINE Official Accout นี้ https://page.line.me/ygg2347g หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 096-979-6451
แฟรนไชส์ เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ

แฟรนไชส์: เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ เหตุผลและอุปสรรคที่ต้องรู้

อยากขยายแฟรนไชส์ แต่เจออุปสรรค? ”ผลสำรวจเผยเหตุผลหลักที่ผู้ประกอบการต้องการขยายธุรกิจ พร้อมอุปสรรคที่พบ เช่น การควบคุมมาตรฐานและการรักษาภาพลักษณ์แบรนด์ เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาและสร้างระบบมาตรฐานด้วย The Baldrige Framework เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

อ่านต่อ »
เศรษฐกิจไทย ปี 2025 SMEs และแฟรนไชส์ จะรับมืออย่างไร

เศรษฐกิจไทยปี 2025 จะรับมืออย่างไร

ปี 2025 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก ธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ควรเตรียมพร้อมด้วย 5 กลยุทธ์สำคัญ เช่น การบริหารต้นทุนอย่างชาญฉลาด การสร้างรายได้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาทีมงาน เพื่อเติบโตท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

อ่านต่อ »
พลังเสียงและกลิ่น กระตุ้นยอดขาย สร้างแบรนด์

พลังเสียงและกลิ่น: สูตรลับกระตุ้นยอดขายและความจงรักภักดี

เสียงและกลิ่นไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมในธุรกิจ แต่คือเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยกระตุ้นยอดขายและสร้างความจดจำให้กับแบรนด์ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเสียงและกลิ่นที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ พร้อมตัวอย่างการใช้งานจริงจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก

อ่านต่อ »
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และรอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่ารอยัลตี้เป็นตัวแปรสำคัญในธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักวิธีตั้งราคาอย่างเหมาะสม เพื่อดึงดูดนักลงทุนและสร้างความมั่นคงให้ธุรกิจ

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis