Creative Workshop เพิ่มค่าสินค้าและบริการของ SMEภาคใต้

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ผู้รับผิดชอบเป็นหน่วยดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้จัดการอบรมให้ความรู้ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ และ Creative Workshop หรือเรียกกันว่ากิจกรรมสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs ในพื้นที่ภาคใต้ งานนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีมที่ปรึกษาด้านการตลาด และทีมงานจากมหาวิทยาลัยสงขลาฯ (มอ.) และวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้เชิญ คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท จีโนซิส จำกัด เป็นผู้ดำเนินรายการและจัดกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจในการคิดสร้างสรรค์ตลอดโครงการ 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ 8-10  กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมเมืองลิกอร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ประกอบการที่ได้ถูกคัดเลือกเข้าโครงการนี้กว่า 26 กิจการ ซึ่งรวมกับทีมที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ของสถาบัน มีทั้งสิ้นประมาณ 90 คน

คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ดำเนินรายการโครงการฯ

รูปแบบการจัดแคมป์นี้แบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1)กิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสนิทสนมกันระหว่างผู้ประกอบการ 2)การอบรมให้ความรู้ด้าน Creativity การสร้างสรรค์ผลงาน 3) การทำ Workshop โดยมีนักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมระดมความคิดทำงานกับผู้ประกอบการ 4)การนำเสนอผลงานให้กับผู้เชี่ยวชาญที่มีทำงานเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า OTOP ในระดับสากล ได้แก่ผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของเดอะมอลล์กรุ๊ป นักออกแบบจาก Index Living Mall ผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อจากนารายณ์ภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญสินค้า OTOP จากกระทรวงมหาดไทย

คุณเศรษฐพงศ์ รับผิดชอบในการดำเนินรายการโครงการนี้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.โดยจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกันและรู้จักกับทีมงานที่จะมาเป็นที่ปรึกษาในด้านต่างๆ

งานเลี้ยงต้อนรับผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือก

เกมเมื่อยไม๊จ๊ะ พี่จ๋า สร้างความสนุกเฮฮาและสนิทสนม

กิจกรรมที่นำมาสร้างเสียงหัวเราะและความสนิทสนมได้แก่ เกมตามหาป้ายชื่อ เกมเรียงลำดับตามคำสั่ง เกมเมื่อยไม๊จ๊ะ (นวดให้กันและกัน) เกมเพื่อนสนิท เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกันมากขึ้นเพื่อจะต่อยอดในการสร้างเครือข่ายธุรกิจต่อไป

ในช่วงเช้าของวันที่ 9 ก.ค. เปิดงานโดยคุณอยุทธ์ เตชะสุกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ (ผู้รับผิดชอบโครงการนี้) สถาบันพัฒนา SME มีการอบรมให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญดังนี้ ผศ.อรสา จิรภิญโญ บรรยายหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ดูเขา ดูเรา” อ.ไพเวช วังบอน บรรยายหัวข้อ “Inspire Creativity” (จุดประกายความคิดสร้างสรรค์) และนพ.บัญชา พงษ์พานิช บรรยายหัวข้อ “Creative Breakthrough การสร้างสรรค์ที่แตกต่าง”

การบรรยายความรู้ด้าน Creativity

นั่งสมาธิ และสร้างจินตนาการไปตามเรื่องที่เล่า ก่อนเริ่มทำ Workshop

ก่อนเริ่มกิจกรรม Workshop ช่วงบ่าย คุณเศรษฐพงศ์ได้กล่าวถึงการบริหารสมองเพื่อสร้างจินตนาการ และให้นั่งสมาธิจุดประกายและพลังในการผลิตผลงานอย่างสร้างสรรค์

ช่วงเวลา Workshop ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มต้นจากการระดมสมองเพื่ออัตลักษณ์ (Identity) ความเป็นตัวตนของวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการต่างๆ ที่มีอยู่และให้เป็นสากลมากขึ้นได้อย่างไร ทีมนักออกแบบและทีมการตลาดเข้าไปให้คำปรึกษากันอย่างใกล้ชิด

คุณเศรษฐพงศ์ กำลังซักถามเพื่อสร้างประเด็นความคิดให้กับสินค้าที่ทำมาจากกระจูด พืชสำคัญในพื้นที่ภาคใต้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่จากหนังตะลุง ได้มีการทำโมเดลตัวอย่างเพื่อประกอบการนำเสนอ

ในวันที่ 10  ก.ค. ผู้ประกอบการจะนำเสนอผลงานรวมทั้งแผนการตลาดที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และเสริมด้วยคำแนะนำจากทีมที่ปรึกษา การนำเสนอนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในวงการการซื้อขายผลิตภัณฑ์และบริการมาให้ความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์

ผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมทุกคนต่างได้รับประโยชน์จาก Workshop ครั้งนี้ โดยในเย็นของวันสุดท้ายมีการจัดงานเลี้ยงขอบคุณ และกล่าวสรุปงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป ซึ่งการจัดการอบรม Workshop ครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการดำเนินงานโครงการ โดยทีมที่ปรึกษาจะลงพื้นที่ไปทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ จนกว่าโครงการจะเสร็จเป็นรูปธรรมและนำสินค้าจริงๆ ออกจำหน่ายได้ภายในเดือนกันยายนนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง เศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างสร้างสรรค์ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน (ประสบการณ์จาก Workshop ในพื้นที่ภาคใต้)

แฟรนไชส์ เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ

แฟรนไชส์: เริ่มต้นอย่างไรให้สำเร็จ เหตุผลและอุปสรรคที่ต้องรู้

อยากขยายแฟรนไชส์ แต่เจออุปสรรค? ”ผลสำรวจเผยเหตุผลหลักที่ผู้ประกอบการต้องการขยายธุรกิจ พร้อมอุปสรรคที่พบ เช่น การควบคุมมาตรฐานและการรักษาภาพลักษณ์แบรนด์ เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาและสร้างระบบมาตรฐานด้วย The Baldrige Framework เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

อ่านต่อ »
เศรษฐกิจไทย ปี 2025 SMEs และแฟรนไชส์ จะรับมืออย่างไร

เศรษฐกิจไทยปี 2025 จะรับมืออย่างไร

ปี 2025 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก ธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ควรเตรียมพร้อมด้วย 5 กลยุทธ์สำคัญ เช่น การบริหารต้นทุนอย่างชาญฉลาด การสร้างรายได้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาทีมงาน เพื่อเติบโตท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

อ่านต่อ »
พลังเสียงและกลิ่น กระตุ้นยอดขาย สร้างแบรนด์

พลังเสียงและกลิ่น: สูตรลับกระตุ้นยอดขายและความจงรักภักดี

เสียงและกลิ่นไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมในธุรกิจ แต่คือเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยกระตุ้นยอดขายและสร้างความจดจำให้กับแบรนด์ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเสียงและกลิ่นที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ พร้อมตัวอย่างการใช้งานจริงจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก

อ่านต่อ »
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และรอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่ารอยัลตี้เป็นตัวแปรสำคัญในธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักวิธีตั้งราคาอย่างเหมาะสม เพื่อดึงดูดนักลงทุนและสร้างความมั่นคงให้ธุรกิจ

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis