หลักสูตร ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

หลักสูตร ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน หัวใจหลักในการจัดการแฟรนไชส์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2563 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์​ ผดุงพิสุทธิ์, CFE, บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ บรรยายในหัวข้อ “การสร้าง ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน ” หัวข้อสำคัญของสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (B2B Franchise) รุ่นที่ 24 ประจำปี 2564 ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

สัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (B2B Franchise) คือหนึ่งในหลักสูตรยอดนิยมที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องมาเรียน จัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ และนักธุรกิจแฟรนไชส์ มาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเคล็ดลับการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ หลักสูตรนี้สอนตั้งแต่ความรู้พื้นฐานแฟรนไชส์ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การสร้าง ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน การวางรูปแบบการปฏิบัติงาน การคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ การสร้างร้านต้นแบบ การบริหารร้านสาขา การวางแผนการเงิน การสร้างกลยุทธ์การตลาดแฟรนไชส์ การวิเคราะห์ทำเล การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี การสร้างองค์กรแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ ตลอดจนการนำเสนอแผนธุรกิจ ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรมในแต่ละรุ่นประมาณ 100 กิจการ จนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 24 แล้ว

ทั้งนี้ คุณ เศรษฐพงศ์​ ผดุงพิสุทธิ์, CFE, กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษากลยุทธ์ธุรกิจ การเงิน และแฟรนไชส์ เป็นหนึ่งในวิทยากรประจำหลักสูตรแฟรนไชส์นี้ตั้งแต่รุ่นที่ 13 เป็นต้นมา (ตัวอย่างหลักสูตรแฟรนไชส์ที่ผ่านมากับกรมฯ คลิกตรงนี้ ) ได้สอนและแนะนำผู้ประกอบการสร้างธุรกิจและขยายสาขาแฟรนไชส์มาจนถึงรุ่นที่ 24 นี้ โดยคุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ได้ปรับเนื้อหาการบรรยายจากหัวข้อ “การสร้างระบบงานที่เป็นมาตรฐาน” เป็น “การสร้างระบบแฟรนไชส์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน DBD Franchise Standard” เพื่อให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สร้างระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

คุณ เศรษฐพงศ์​ ผดุงพิสุทธิ์ กล่าวว่า

“ระบบมาตรฐาน จะช่วยให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ สามารถเรียนรู้ได้ คาดเดาปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และเครื่องมือหรือเครื่องจักรในประกอบธุรกิจ เมื่อแฟรนไชส์มีมาตรฐาน จะช่วยให้แฟรนไชส์ซี สามารถทำงานได้อย่างคงเส้นคงวา  และนำพาโอกาสไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งการวัดผลการดำเนินงานนั้น มีเกณฑ์ในการวัดเปรียบเทียบกับงานที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับเกณฑ์อุตสาหกรรมเดียวกัน และใช้เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ วางแผน ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจร่วมกันของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี”

หลักเกณฑ์การประเมิน ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

การวัดมาตรฐาน แฟรนไชส์ซีควรเริ่มต้นด้วยการประเมินตนเองก่อน (Self Assessment Franchise Test) วิเคราะห์มาตรฐานแฟรนไชส์ของธุรกิจตนเอง ซึ่งในวันอบรมผู้ประกอบการได้ทำ SAFT ในห้องเรียนผ่านฟอร์มออนไลน์ตามลิงค์นี้ https://forms.gle/fMYRK23Y81XWpJg1A

Self Assessment Franchise Test

 

DBD Franchise Standard หรือ มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดทำขึ้นตามแนวทาง มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldrige National Quality Award – MBNQA) ที่เป็นที่ยอมรับและมีการนำไปใช้กว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นระบบเกณฑ์ที่เน้นการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรธุรกิจของตนให้มีคุณภาพและความเป็นเลิศ ซึ่งมี ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ และผู้เชี่ยวชาญแฟรนไชส์ ได้ระดมความคิดเห็นปรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งคุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ เป็นหนึ่งใน ผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 แล้ว หลักเกณฑ์ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้ประเมินมาตรฐานคุณภาพของแฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งช่วยให้แฟรนไชส์สามารถนำไปสร้างระบบการทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน และใช้เครื่องมือ PDCA หรือ Plan Do Check Act มาประยุกต์ดูว่านำหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไปใช้ให้เกิดผลพัฒนาเป็นวงจรไปข้างหน้า

1.การนำองค์กร ผู้นำระดับสูงขององค์กร แฟรนไชส์ ได้ชี้นำและทำให้องค์กร แฟรนไชส์ ยั่งยืนได้อย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินระบบธรรมาภิบาลขององค์กร และการดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย และความรับผิดชอบต่อชุมชน

2.การวางแผนกลยุทธ์ องค์กรแฟรนไชส์ จัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการถ่ายทอดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้เพื่อนำไปปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงหากสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผล ความก้าวหน้า

3.การมุ่งเน้นลูกค้า และแฟรนไชส์ซี องค์กรแฟรนไชส์ กำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมของลูกค้าและแฟรนไชส์ซีอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้าและการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้ลูกค้า สร้างความพึงพอใจ ความภักดี และการรักษาลูกค้าไว้ รวมถึงปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การขยายตัวของธุรกิจและความยั่งยืนของแฟรนไชส์

4.การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ องค์กรแฟรนไชส์เลือกรวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้อย่างไร และจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศนี้อย่างไร รวมทั้งมีวิธีการทบทวน และใช้ผลการทบทวนเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างไร

5.การมุ่งเน้นบุคลากร องค์กรสร้างความผูกพัน จัดการ และพัฒนาบุคลากรอย่างไร เช่นหลักสูตรการฝึกอบรมแฟรนไชส์และอบรมคนในองค์กรแฟรนไชส์ วิเคราะห์ความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร และสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากรที่ก่อให้เกิดผลการดำเนินการที่ดี

6.การจัดการกระบวนการ หรือการปฏิบัติงาน องค์กรแฟรนไชส์ มีวิธีการอย่างไรในการกำหนด ความสามารถพิเศษ และระบบงาน รวมทั้งมีวิธีการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ในระบบงานในการสร้างคุณค่าให้ลูกค้า และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และยั่งยืนได้อย่างไร รวมถึงความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้วย

ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดผลหลักเกณฑ์ในข้อ 1-6 ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร มีการเปรียบเทียบกับผู้อื่นหรือคู่แข่งในอุตสาหกรรมแล้วเป็นอย่างไร มีการนำข้อมูลผลลัพธ์มาเชื่อมโยงในหลักเกณฑ์ต่าง ๆ แล้วเกิดการพัฒนากลยุทธ์อะไร

นอกจากนี้การอยู่รอดขององค์กรในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเร็ว ผู้นำองค์กรแฟรนไชส์ ต้องประเมินความเสี่ยง มีแผนรองรับ ออกแบบนวัตกรรม ปรับกระบวนการทำงานและสร้างความสัมพันธ์กับแฟรนไชส์ซี และคู่ค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ตลอดการบรรยาย คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ได้ยกตัวอย่างประกอบ และกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์และปรับแผนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหากมีผู้ประกอบการสนใจในการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานสามารถติดต่อสอบถามกับ บริษัท จีโนซิส จำกัดได้ที่อีเมล์ contact@gnosisadvisory.com หรือลองทำแบบประเมินตนเองในฟอร์มนี้ https://forms.gle/fMYRK23Y81XWpJg1A    ทีมงานของ จีโนซิส จะส่งคะแนนประเมินและบทวิเคราะห์อย่างย่อเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนกลยุทธ์แฟรนไชส์ต่อไป

เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ สอนระบบมาตรฐานแฟรนไชส์

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และรอยัลตี้ สำหรับธุรกิจอาหาร เท่าไรยอมจ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่ารอยัลตี้เป็นตัวแปรสำคัญในธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักวิธีตั้งราคาอย่างเหมาะสม เพื่อดึงดูดนักลงทุนและสร้างความมั่นคงให้ธุรกิจ

อ่านต่อ »
ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจ vs ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์: เลือกเส้นทางที่ใช่สำหรับคุณ

คุณเป็นผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์? ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพเพื่อหาคำตอบพร้อมข้อมูลเชิงลึก

อ่านต่อ »
DISC Test for Franchise แบบทดสอบแฟรนไชส์ให้เหมาะสมกับคุณ

DISC test for franchise แบบทดสอบเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับคุณ

ค้นหาบุคลิกภาพของคุณและเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมด้วยการทำแบบทดสอบ DISC ออนไลน์จาก GnosisAdvisory ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์ตามจุดแข็งและพฤติกรรมส่วนตัวของคุณ

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis